การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนรู้
เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้
ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล
ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ
ในการนำไปประยุกต์ใช้
การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ
ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการออกแบบการสอน (Instructional
Design) เป็นสิ่งแนะนำ แนวทางสำ
หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย
และสร้างเสริมประสบการณ์ ในการออกแบบการสอน (Instructional Design) เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ
ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า
“ระบบ” ว่าเป็นอย่างไร
และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ
(system approach)
ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 โดยมีความเชื่อว่า
การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน คือ
ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด
รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ
สรุปเป็นขั้นตอนได้ 5 ขั้น
ที่เรียกว่า ADDIE คือ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ . 2531)
1. การวิเคราะห์ (Analyze)
2. การออกแบบ (Design)
3. การพัฒนา (Develop)
4. การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement/Tryout)
5. การประเมินและแก้ไข (Evaluate/Revise)
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
คือ
การช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก
ๆ อยู่หลายประการ ปัญหาดังกล่าวคือ
ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)
ทฤษฎี การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design : ISD)
ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน
พอสรุปได้ดังนี้
1) การวิเคราะห์ (Analysis)
2) การออกแบบ (Design) คือ
การออกแบบในส่วนขอ เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง
3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านลักษณะนิสัย
(Affective
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา
4) การนำไปใช้ (Implementation)
5) การวัดและประเมินผล
(Evaluation)
ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบ คือ
1. กำหนดผล
(จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
2. การพัฒนาการสอน
3. การประเมินการเรียนการสอน
เกอร์ลาช และ อีไล (Gerlach & Ely,1980)
ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาช
และอีไล
จากองค์ประกอบของระบบการเรียน
เกอร์ลาช และอีไล
1. การกำหนดเนี้อหาสาระ
(Specification of Content)
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives
3. การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น (Assessment of Entering Behaviors
4. การกำหนดยุทธศาสตร์การสอน (Determination of Strategy)
5. การจัดกลุ่มผู้เรียน (Organization of Groups)
6. การกำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time)
7. การกำหนดขนาดของสถานที่เรียน (Allocation of Space
8. การเลือกทรัพยากร หรือแหล่งวิทยาการ (Selection of Resources)
9. การประเมินผลการเรียน (Evaluation of Performance)
10.
การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback
องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
รูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น
ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)
รูปแบบดั้งเดิม
(Generic model)
การวิเคราะห์ (Analysis)
การออกแบบ (Design)
การพัฒนา (Development)
การนำไปใช้ (Implementation)
การประเมินผล (Evaluation)
จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
ตามความเชื่อความต้องการของตน